วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ดวงอาทิตย์ (บทที่2)

ดวงอาทิตย์
           ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ศูนย์กลางของระบบสุริยะ เนื้อสารส่วนใหญ่ของระบบสุริยะอยู่ที่ดวงอาทิตย์ คือ มีมากถึง 99.87% เป็นมวลสารดาวเคราะห์รวมกันอย่างน้อยกว่า 0.13% ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์อื่น ๆ บนฟ้า แต่เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด จึงปรากฏเป็นวงกลมโต บนฟ้าของโลกเพียงดวงเดียว ดาวฤกษ์อื่นปรากฏเป็นจุดสว่าง เพราะอยู่ไกลมาก ขนาดที่แท้จริงโตกว่าโลกมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 109 เท่าของโลก

จุดบนดวงอาทิตย์มีประโยชน์ในการวัดอัตราการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ ซึ่งพบว่ามีคาบ 27.3 วัน (อัตราการหมุนรอบตัวเอง ณ บริเวณเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ยาว 24.6 วันต่อรอบ ที่ละติจูด 30 องศา 25.8 วัน ที่ละติจูด 60 องศา 30.9 วัน และที่ขั้ว 34.0 วัน) ในปี พ.ศ. 2433 มอนเดอร์ (E.W.Maunder) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษได้ตรวจสอบข้อมูลเก่า ๆ เกี่ยวกับจุดบนดวงอาทิตย์ และพบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2188-2258 เป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์ไม่ค่อยมีจุดเลย จึงไม่มีปีซึ่งมีจุดมากและปีซึ่งมีจุดน้อย การศึกษาต่อมาทำให้เชื่อว่า ช่วงเวลาดังกล่าว ดวงอาทิตย์มีบรรยากาศที่เรียกว่า คอโรนา น้อยหรือไม่มีเลย  มีเรื่องน่าสนใจที่อาจเกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ คือ การผันแปรของภูมิอากาศในประเทศอังกฤษในทศวรรษปี พ.ศ. 2223 กล่าวคือ น้ำในแม่น้ำเทมส์กลายเป็นน้ำแข็งอยู่เป็นประจำ และไม่เห็นแสงเหนือเลยฮัลเลย์ บันทึกไว้ว่าเขาเห็นแสงเหนือเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2259 หลังจากเผ้าคอยดูมาเป็นเวลา 40 ปี อาจเคยมีช่วงที่ดวงอาทิตย์ไม่มีจุดในระหว่าง พ.ศ. 1943 ถึง 2053 แต่หลักฐานการบันทึกไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามมีผู้ตรวจสอบวงปีของต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งมีอายุอยู่ระหว่างประมาณ 268 ปีก่อนพุทธศักราช ถึง พ.ศ. 2457 พบว่าการเจริญเติบโตของต้นไม้ได้รับผลกระทบจากจุดบนดวงอาทิตย์ด้วย และมีช่วงที่ดวงอาทิตย์มีจุดน้อยดังการพบของมอนเดอร์ ดังนั้นจึงเรียกช่วงระยะเวลายาวนานราว 100 ปี ที่ดวงอาทิตย์ไม่มีจุดหรือมีจุดน้อยนี้ว่าจุดต่อของมอนเดอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561 แหล่งข้อมูลมาจาก : http://thesunsk.blogspot.com/